วันเสาร์, ตุลาคม 18, 2551

ความรู้สึก...

การไปฝึกสอน เป็นประสบการณ์ที่หาในห้องเรียนไม่ได้ เราต้องไปเป็นครูเต็มตัว ต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ต้องรู้จักอดทนต่อสิ่งต่างๆ ต้องเป็นทุกอย่างให้กับเด็ก แม้บางครั้งจะรู้สึกเหนื่อย แต่ทำแล้วมีความสุข ที่อาชีพไหนจะหาไม่ได้ รอยยิ้มของเด็ก เสียงหัวเราะ เหมือนเป็นยาที่ทำให้เราหายเหนื่อยจากทุกอย่าง นี่แค่เป็นบทเรียน มีสิ่งต่างที่เราต้องเจออีกมากมายในชีวิตนี้ แต่เราต้องมีความสุขกับปัญหาและผ่านมันไปให้ได้
ต้องขอบคุณอ.จ๋า ที่ให้คำปรึกษา คำแนะนำในเรื่องต่างๆ เป็นอย่างดี หนูจะเอาประสบการณ์ที่หนูได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

งานวิจัย 5 บท ฟังดูแล้วทุกคนต้องบอกว่ายาก ไม่อยากทำ แต่การเป็นครูต้องมีการทำวิจัย วิจัยในชั้นเรียน เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ที่ครูมองเห็นว่าเป็นปัญหา แก้ไขให้ดีขึ้น จากที่หนูได้ทำวิจัย แม้อาจจะมีข้อบกพร่องบ้าง ก็ถือว่าเป็นบทเรียน ในการทำวิจัยในครั้งต่อไป คงจะดีขึ้นกว่านี้

ขอบคุณสำหรับทุกอย่างนะค่ะ อ.จ๋า

บทคัดย่อ วิจัย

เรื่อง ผลการใช้กิจกรรมการประกอบอาหารที่มีต่อวิธีการหาคำตอบของเด็ก
ปฐมวัย
ชื่อผู้วิจัย นิศารัตน์ บึงลี และคณะ
ปีที่วิจัย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์จินตนา สุขสำราญ


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญ เพื่อศึกษาผลการใช้กิจกรรมการประกอบอาหารที่มีต่อวิธีการหาคำตอบของเด็กปฐมวัย นักเรียนชั้นอนุบาล 1/1 ,2/1โรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศรัย(กระจ่าง สิงหเสนี)
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา เป็นนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1/1,2/1ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 255 โรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศรัย (กระจ่าง สิงหเสนี) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้วิธีสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 37 คน เพื่อจัดกิจกรรมการการประกอบอาหาร เป็นระยะเวลา 5 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 วัน ในช่วงกิจกรรมวงกลม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ 1. แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 2. แผนการจัดกิจกรรมประกอบอาหาร คณะผู้วิจัยทำการเก็บข้อมูลด้วยตนเอง ( By Yourself )
การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป (SPSS/FW) วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยการทดสอบสมมุติฐาน การหาค่าเฉลี่ย ( ) การหาค่าส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที t – test แบบ Dependent
ผลการวิจัยพบว่า การศึกษาผลการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการประกอบอาหาร ชั้นอนุบาล 1/1 อายุ 4-5 ปี และชั้นอนุบาล 2/1 อายุ 5-6 ปี ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการทดลองการประกอบอาหารมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .001